เช็คสุขภาพก่อนวิ่งเพื่ออะไร

สำหรับผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้น ควรทำการตรวจสุขภาพก่อน เพราะจากเหตุการณ์ที่ผ่านมามักพบการที่เราไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ข้างหน้าได้ซึ่งจะพบกับนักวิ่งอยู่เสมอ คือการที่กำลังป่วยเป็นโรคบางอย่างอยู่ และเมื่อวิ่งทำให้อาการของโรคกำเริบจนเสียชีวติ โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งหากใช้กำลังหรือออกแรงมากกว่าปกติจะส่งผลกับการเต้นของหัวใจ ทำให้เสียชีวิตจากหัวใจวายขณะวิ่งได้ ดังที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของนักวิ่งเอง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนวิ่งอยู่เสมอ ด้วยเหตุผล 2 ข้อ ดังนี้

1. ค้นหาโรคร้ายที่ซ่อนอยู่
ในการตรวจสุขภาพนั้นแน่นอนว่าเป็นการเช็คทุกอย่างของร่างกายเราเพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคทั่วไปที่อาจไม่สามารถตรวจพบได้ หรือไม่มีแสดงอาการออกมาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งการออกแรงมากเกินกว่าปกติต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะส่งผลโดยตรงกับการเต้นของหัวใจทำให้หน้ามืด เป็นลม เเน่นหน้าอก ใจสั่น หรือเสียชีวิต รวมถึงโรคร้ายอื่นๆ เช่น โรคเนื้อเยื่อสมองเสื่อมรุนแรงเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของนักกีฬาอาชีพ อย่าง ไมค์ เว็บสเตอร์ (Mike Webster) นักอเมริกันฟุตบอลผู้มีชื่อเสียง ที่ปฏิเสธการตรวจสุขภาพก่อนลงแข่ง

2. ประเมินความเสี่ยงของร่างกาย
ร่างกายของทุกคนมีพื้นฐานความแข็งแรงและอื่นๆ ที่แตกต่างกัน ดังนั้นร่างกายจึงสามารถรองรับหรือทนต่อสิ่งต่างๆ ได้แตกต่างกัน ดังนั้นในการวิ่งมาราธอนที่ต้องใช้กำลังกายและกำลังใจมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่เคยลงสนามมาก่อน หรือพึ่งลงวิ่งมาราธอนเป็นครั้งแรก บอกกับสภาพอากาศที่ร้อนมากของประเทศไทยยิ่งทำให้การวิ่งนั้นหินมาก มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ได้ทำการศึกษาวิจัย และพบว่า มีคนหนุ่มสาวเสียชีวิตขณะเล่นกีฬามากกว่า 200-300 คน ในทุกๆ ปี โดยสาเหตุการตายก็จะมี โรคหอบหืด โรคลมแดด ดังนั้นการหายใจให้เป็นจังหวะและดื่มน้ำให้เพียงพอในระหว่างวิ่ง รวมถึงหมั่นสังเกตอาการขณะวิ่ง ไม่ควรฝืนหากพบว่ามีอาการผิดปกติ การพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนออกวิ่งจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง อันตรายแค่ไหน

โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง เกิดจากสาเหตุใด ?
จากกรณีการเสนอข่าวเรื่องมีพยาธิสตรองจิลอยด์ (Strongyloidiasis) ที่พบผู้ป่วยติดเชื้อถึงแก่ความตาย ในผู้ที่ไม่สวมรองเท้าชอบเดินเท้าเปล่า จากการที่มีพยาธิไชผิวหนังเข้าไปในร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือด ลุกลามไปถึงอวัยวะสำคัญต่างๆ และเสียชีวิตในที่สุด โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง เกิดจากพยาธิตัวกลมระยะตัวอ่อนที่สามารถไชเข้าสู่ผิวหนังได้ และพยาธิปากขอที่พบในสัตว์อย่าง แมว สุนัข วัว และควาย รวมไปถึงพยาธิเส้นด้ายของสัตว์

พยาธิ พบได้ที่ไหน ?
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พยาธิตัวอ่อนในระยะติดต่อพบในดินที่ชื้นแฉะที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ และจะไชเข้าสู่ผิวหนังปกติ หรือผิวที่มีแผล ในคนที่เดินเท้าเปล่า หรือเด็กที่นั่งเล่นบนพื้นดิน หรือทรายบริเวณชายหาด

อาการของโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง
1. ผื่นขึ้นบริเวณมือ เท้าหรือก้นที่สัมผัสกับดินทรายโดยตรง
2. เห็นเป็นเส้นนูน แดง หรือตุ่มน้ำใส ขนาดประมาณ 3 มม. และอาจยาวถึง 20 ซม. คดเคี้ยวไปมาตามการไชของพยาธิ ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้วันละ 2-3 มิลลิเมตร หรือหลายเซนติเมตร
3. มีอาการคันมาก อาการทางผิวหนังมักจะเกิดใน 1-5 วันหลังสัมผัส และคงอยู่ได้นาน 2-14 สัปดาห์หรือนานเป็นปี
4. อาการอื่น ๆ ที่อาจพบในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการทางปอด เช่น ไอ หรือ ผื่นลมพิษ
สำหรับตัวจิ๊ดหรือตัวอ่อนของพยาธิจะเคลื่อนที่อยู่ในผิวหนังชั้นลึกๆ จะมีอาการบวมแดง อักเสบและปวด เมื่อพยาธิย้ายที่ไปมา แตกต่างกับกลุ่มพยาธิปากขอ ที่ไม่สามารถเติบโตในร่างกายคนได้ จึงทำได้เพียงแค่ไชอยู่ในผิวหนัง จนตายไปเอง หรือร่างกายเราสามารถกำจัดได้เองจากภูมิคุ้มกันหรือจากการรักษา

การรักษาโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง
สำหรับการรักษาพยาธิ สามารถใช้ยาฆ่าพยาธิ ชนิด albendazole 400 มก.ต่อวัน นาน 3 วัน หรือ ivermectin รับประทานครั้งเดียว เป็นการรักษาที่ได้ผลดี เนื่องจากในประเทศไทยพบอัตราการเป็นโรคพยาธิปากขอสูงในแมวและสุนัข และสัตว์เลี้ยงทั้งสองก็มีมากในประเทศไทยทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ จึงมีโอกาสที่พยาธิปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมาก การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ไม่ให้พยาธิไชเข้าร่างกาย จะต้องสวมรองเท้าเวลาเดินเสมอ และหลีกเลี่ยงการนั่งหรือสัมผัสบนดิน ทราย ที่อาจมีการปนเปื้อนมูลสัตว์ และควรถ่ายพยาธิให้แมวและสุนัขเพื่อไม่ให้มีการแพร่ปรสิตสู่ดิน

ไขมันพอกตับกับ 10 สัญญาณที่ทำให้ตับเสื่อม

10 สัญญาณ ตับเสื่อม

คนเรามักมองข้ามอาการขั้นพื้นฐาน โดยไม่รู้ว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการเริ่มต้นที่นำพาไปสู่โรค ไขมันพอกตับ หรือโรคภัยร้ายแรงที่เราคาดไม่ถึง หนึ่งในนั้นก็คือโรคตับ ความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเท่านั้น คนปกติที่ทานอาหารทั่วไปก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน วันนี้เรามาเช็กร่างกายกันคร่าวๆดีกว่า ว่ามีสัญญาณอะไรบ้างที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้

  1. ตาเหลือง เป็นเพราะเลือดมีปริมาณบิลิรูบินมากเกินไป สาเหตุมาจากการที่ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้บิลิรูบินคั่งอยู่ในกระแสเลือด และทำให้ตาขาวกลายเป็นสีเหลือง
  2. ตาขาวมีเส้นเลือดขึ้น เกิดจากสาเหตุที่ตับทำงานหนักเกินไป ทำให้มีอาการตาแดงโดยที่ไม่ได้ทำงานหรือใช้สายตาเลยก็ตาม
  3. หน้าหมอง เกิดจากตับทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ผิดปกติ ทำให้สารพิษที่เข้าสู่ร่างกายนั้นไม่ได้ผ่านการกรองโดยตับ จึงทำให้ผิวพรรณและใบหน้าเราหมนหมองและไม่ผ่องใส
  4. มีน้ำตาคลอ หากไม่ได้มีอาการฝุ่นเข้าตา หรือมีความรู้สึกอื่นๆที่ทำให้ร้องไห้ อาจเป็นไปได้ว่าตับของคุณกำลังมีอาการผิดปกติอยู่
  5. เล็บหักบ่อย อาจเป็นได้ไปว่าร่างกายของเราได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ แม้ว่าจะทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้วก็ตาม เกิดจากตับไม่ได้ทำงานในส่วนของส่งสารอาหารที่มีประโยชน์ไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย
  6. ผิวช้ำง่าย เมื่อตับของเราทำงานได้ไม่ดี การหมุนเวียนของเลือดย่อมมีปัญหาตามไปด้วย ส่งผลให้เเส้นเลือดไม่แข็งแรก และกลายเป็นคนที่ช้ำง่าย
  7. เลือดออกที่เหงือกแบบไม่มีสาเหตุ หากคุณไปพบแพทย์แล้วไม่พบความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพฟัน จงพึงระวังไว้ว่าสาเหตุรองลงมาก็คือตับทำงานผิดปกติ
  8. ปวดท้องแบบระบุจุดไม่ได้ หรือปวดท้องแบบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ เป็นอีกสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าตับมีปัญหา และอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคอื่นๆตามมาได้
  9. ท้องโต หรือเท้าบวม เกิดจากการดูดซึมของตับแย่ลงจึงทำให้มีอาการเหล่านี้ หากมีไข้ร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดทันที
  10. การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม ไม่มีสติ หรือดูไม่เหมือนตัวเองในวันที่ปกติ อาจเป็นเพราะมีสารพิษตกค้างในร่างกาย เนื่องจากตับทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ออกซิเจนในร่างกายลดลง