อาการบ้านหมุนคืออะไร

หลายคนคงเคยได้ยินอาการบ้านหมุนมาบ้างแล้ว สงสัยไหมว่า อาการบ้านหมุนคืออะไร เวียนหัวบ่อย เมารถง่าย หูอื้อ รู้สึกโคลงเคลง ตาลายคล้ายบ้านหมุน ฟังดูเหมือนเป็นอาการทั่วไป เป็นๆหายๆจนเป็นเรื่องธรรมดา แต่ใครจะรู้ว่าหากอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในเวลาที่คุณกำลังเดินทางขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักร อาจเป็นที่มาของอุบัติเหตุร้ายแรงได้

อาการเหล่านี้คืออะไร มาทำความรู้จักกัน อาการบ้านหมุน หรือที่เรียกกันว่า Vertigo เป็นอาการเวียนหัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยคุณจะรู้สึกว่าสิ่งที่อยู่รอบๆตัวคุณกำลังหมุน หรือไม่ตัวคุณเองก็กำลังหมุน ทั้งๆที่จริงแล้วคุณอยู่กับที่ ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หูอื้อ การได้ยินลดลงหรือมีเสียงในหูร่วมด้วยได้

วิธีการรักษาก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งมาจากความผิดปกติที่หูชั้นใน ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาการทรงตัวของร่างกายคนเรา ซึ่งจะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน และโรคเส้นประสาทในการทรงตัวอักเสบ เป็นต้น แล้วจะสังเกตได้อย่างไรว่าเป็นโรคเหล่านี้หรือไม่  

1.)โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน โรคนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการบ้านหมุน ในหูชั้นในของคนเรามีหินปูนเกาะอยู่เมื่ออายุมากขึ้นหรือด้วยสาเหตุอื่น เช่น ศีรษะโดนกระแทก หินปูนก็อาจหลุดเคลื่อนเข้าไปในท่อน้ำในหูชั้นใน ทำให้น้ำในท่อนี้หมุนไม่สมดุล จึงเป็นที่มาของอาการบ้านหมุนสั้นๆแค่ไม่กี่วินาทีโดยเฉพาะขณะเปลี่ยนท่า โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบบ่อยในผู้สูงอายุรักษาได้โดยการกายภาพ จัดท่าศีรษะโดยคุณหมอเพื่อให้หินปูนกลับเข้าที่ 

2.)โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร และนอกจากอาการบ้านหมุนก็จะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น หูอื้อ มีเสียงหึ่งๆ การรักษามักทำแบบการประคับประคอง เช่นให้ยาแก้เวียนหัว และแนะนำให้เลี่ยงอาหารรสเค็ม ซึ่งอาจเป็นตัวกระตุ้นอาการให้กับมาอีก โรคนี้อาการจะกำเริบเป็นระยะๆ หากปล่อยไว้โดยไม่ดูแลก็อาจทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินของคุณลดลงได้ 

3.)โรคเส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสจากไข้หวัดแล้วลามไปจุกที่เส้นประสาทการทรงตัว คุณจะมีอาการบ้านหมุน เวียนหัว ชนิดลุกขึ้นไม่ได้เลย ทำได้แค่นอนนิ่งๆ ให้อาการดีขึ้นประมาณ 3-7 วัน แต่หลังจากนั้นอาจจะยังรู้สึกโคลงเคลงอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะต้องทำกายภาพด้วยเครื่องฝึกการทรงตัว หรือ Posturography เพื่อปรับสมดุลและฟื้นฟูระบบประสาทการทรงตัว 

สาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุนค่อนข้างซับซ้อน ฉะนั้นควรหมั่นสักเกตอาการให้ดีแล้วมาปรึกษาคุณหมอก่อนที่อาการจะหนักขึ้นเพราะอันตรายเกินขึ้นได้ทุกเมื่อโดยที่คุณไม่รู้ตัว 

 

สนับสนุนเรื่องราวโดย  เครื่องช่วยฟัง

หูฟังใช้อย่างไรไม่ทำให้หูหนวก

         อาจพูดได้ว่าปัจจุบันหูฟังเป็นอุปกรณ์ที่ผู้คนนิยมใช้งานกันมากอย่างหนึ่ง เพราะไม่ว่าเราจะฟังข่าว เล่นเกม หรือฟังเพลง เราสามารถใช้หูฟังเพื่อให้เสียงที่เราได้ยินไม่ไปรบกวนผู้อื่น แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการใช้หูฟังนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะหากเราใช้หูฟังอย่างไม่ถูกต้อง จะมีผลเสียระบบการได้ยินของหูของเราด้วย เช่นทำให้หูหนวกได้  

ปัจจุบันหูฟังมีการจำผลิตและจำหน่ายอยู่ 3 แบบ เราเรามาดูกันว่าแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบาง และเราควรเลือกใช้หูฟังแบบไหน ที่จะทำให้หูของเราไม่ต้องเสี่ยงเป็นโรคหูหนวก

1.หูฟังแบบที่ครอบหู  ซึ่งหูฟังชนิดนี้จะนิยมใช้งานกันมากในกลุ่มวัยรุ่น โดยหูฟังแบบนี้จะสามารถป้องกันเสียงของบรรยากาศจากภายนอกไม่ให้เข้าไปในหูได้  ดังนั้นผู้ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องปรับระดับความดังของเสียงมากเกิดไป จึงไม่เกิดอันตรายต่อหู แต่ข้อเสียคือหูฟังชนิดนี้จะมีลักษณะที่ใหญ่ บางคนจะรู้สึกไม่สะดวกที่จะต้องพกพาออกไปใช้งานนอกบ้าน

2.หูฟังแบบเอียร์บัด  สำหรับหูฟังชนิดนี้ จะไม่ค่อยช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากบรรยากาศรอบนอกได้ดีนัก การใช้งานเพียงใส่ไว้ที่รอบนอกรูหู ดังนั้นคนที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้งานเมื่อยามออกนอกบ้านเท่านั้น แต่ข้อเสียของหูฟังชนิดนี้คือ เมื่อไม่สามารถกั้นเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้าไปในหูได้ ดังนั้นผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะมีการปรับระดับเสียงที่หูฟังให้มีความดังมากขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียต่อหู อาจะทำให้เกิดปัญหาแก้วหูอักเสบหรือเป็นโรคหูหนวกได้

3.หูฟังชนิดเสียบหู สำหรับหูฟังชนิดนี้ จะมีขนาดเล็กสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถป้องกันเสียงบรรยากาศจากภายนอกไม่ให้เข้าไปรบกวนในหูได้ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องปรับเสียงให้ดังมากนัก ไม่เป็นอันตรายต่อหู แต่ข้อเสียของหูฟังชนิดนี้คือ เมื่อเราไม่ได้ยินเสียงภายนอก อาจทำให้เราเกิดอุบัติเหตุได้หากนำมาใช้งานนอกบ้าน

 ที่บอกว่าหูฟังจะมีผลกระทบต่อการทำให้หูหนวกนั้น เพราะโดยปกติแล้วคนเราไม่ควรฟังเสียงที่ดังเกิน 90 เดซิเบลและการใช้งานหูฟังก็ไม่ควรใช้งานนานต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมงที่สำคัญเราควรปรับความดังของหูฟังไม่ควรเกิน 60 % ของความดังสูงสุดของอุปกรณ์ ซึ่งหากหูของเราได้ยินเสียงที่ดังมากๆ นานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาหูอักเสบหรือหูหนวกได้ 

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก เว็บ เครื่องช่วยฟัง ที่แนะนำเรื่องราวดีๆให้แก่บุคคลที่สนใจ