ท่านทราบหรือไม่ว่า การรับประทานยาแก้ปวดเป็นเวลานาน การรับประทานอาหารบางชนิดที่เราไม่คุ้นเคย การรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงความร้อนจากแสงอาทิตย์ และภาวะของความเครียดทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ที่พบเห็นมากที่สุดจะแสดงอาการทางผิวหนัง จะปรากฏเป็นผื่นบวมนูนสีขาวล้อมด้วยสีแดง มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน
และส่งผลทีชัดเจนในผู้ป่วย ประการแรกคือ มีอาการคัน และมีอาการแสบร้อนในบริเวณที่เป็นผื่น การเกิดลมพิษ ในร่างกาย พบว่า เกิดขึ้นได้ทุกส่วน ใบหน้า ลิ้น ริมฝีปาก คอ หรือ หู
ในประเทศไทย ลมพิษมีอยู่เพียง 2 ชนิด คือ ลมพิษชนิดเฉียบพลัน และลมพิษชนิดเรื้อรัง อาการที่เกิดในลมพิษชนิดเฉียบพลัน จะหายไปได้เองอย่างรวดเร็ว ไม่เกิน 2 วัน หรือ มากสุดไม่เกิน 1 เดือนครึ่ง ส่วนลมพิษชนิดเรื้อรัง จะมีอาการ เกิน 1 เดือนครึ่ง และเป็น ๆ หาย ๆ แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่อันตรายถึงชีวิตได้ แต่ผลของโรคจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ให้เกิดความไม่สบายตัวในการทำภารกิจ การงานใด ๆ และส่งผลต่อการพักผ่อนของร่างกายที่ 1 ใน 3 ต้องเป็นเวลาของการพักผ่อนนอนหลับ แพทย์ระบุว่า เกิดขึ้นใน เพศหญิงมากกว่า เพศชาย
ยังไม่พบสาเหตุแน่นอน ของการเกิดโรคลมพิษ แต่ที่พบบ่อย มักมีสาเหตุมาจากการได้รับสิ่งกระตุ้นหลาย ๆ อย่างจากการดำเนินชีวิต ตั้งแต่ ตื่นนอน จนถึง การเข้านอน และ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายตัวเอง หรือที่เรียกว่าปฏิกิริยาแพ้ภูมิตัวเอง การรักษาอาการนี้ จึงทำได้เพียงเบื้องต้น ที่การให้ยารักษาอาการคัน
และผู้ป่วยต้องสังเกต การได้รับสิ่งผิดปกติ เข้าร่างกาย ไม่ว่า จะเป็นการได้มา โดยการกิน การสัมผัส สิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ในช่วงเวลาที่มีอาการคัน และดีที่สุด หากรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเองไม่ได้ผล ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้สั่งยา ที่เหมาะสมกับอาการของโรค ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยลมพิษระยะเฉียบพลันและ 50 % ของผู้ป่วยระยะเรื้อรัง
มักจะมีอาการบวมของเนื้อเยื่อในชั้นลึกของผิว และเป็นอันตรายถึงชีวิตถ้ามีผลต่อการหายใจ ทางการแพทย์ พบว่า โรคลมพิษ มีผลต่อการพัฒนาไปสู่โรคอันตราย เช่น ไทรอยด์ หรือ ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ซึ่งล้วนส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วย นั่นคือ ผู้ป่วยโรคลมพิษ จึงควรหมั่น ตรวจสอบตัวเอง
และควรหลีกเลี่ยงอะไร ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เพื่อให้บรรเทา และป้องกันโรคลมพิษได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงระมัดระวังในการรับประทานยาต่างๆ ประเภทยาชุด หรือยาประเภท ยาปฏิชีวนะ เพราะเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ส่งผลต่อการไปกระตุ้นให้เกิดลมพิษได้เช่นกัน
สนับสนุนโดย แทงหวยออนไลน์