การพยาบาลผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุที่มีบาดแผล การเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง ผู้บาดเจ็บอาจมีบาดแผลหลายๆแห่งในคราวเดียวกัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน จะต้องเป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบครอบ ซึ่งถ้าหากผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุที่มีบาดแผล ได้รับการดูแลช่วยเหลือพยาบาลที่ถูกต้อง บริเวณบาดแผลได้รับการชำระล้างความสะอาดจนไม่มีสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้อตายค้างอยู่ในบาดแผล ก็จะสามารถช่วยทำให้แผลไม่เกิดการติดเชื้อและส่งผลต่อการหายของแผลเร็วขึ้น
แต่ถ้าหากกรณีบาดแผลที่จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมเย็บแผล พยาบาลที่ปฏิบัติงานและคอยให้การช่วยเหลือพยาบาล บำบัดรักษา จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สามารถประเมินได้ว่าบาดแผลแบบใดที่ควรเย็บหรือควรเย็บด้วยวิธีการเย็บแผลแบบใดรวมถึงการเลือกวัสดุที่ใช้เย็บแผล ระยะเวลาในการตัดไหม การให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีความจำเป็นต้องได้รับ เช่น แผลสกปรก มีโอกาสติดเชื้อเข้าทางบาดแผล เป็นต้น ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ/ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่มีบาดแผล หากได้รับการดูแลช่วยเหลือรักษาพยาบาล และการให้วัคซีนป้องกันที่ถูกต้อง จะสามารถช่วยลดการติดเชื้อ ทำให้การหายของแผลเร็วขึ้น
การพยาบาลผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุ Wound (บาดแผล) หมายถึง ภาวะที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บหรือถูกทำลายซึ่งอาจเกิดจากการได้รับแรงกระแทกจากของแข็ง (Mechanical forces) หรืออาจเกิดจากของมีคมทำให้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติได้
สาเหตุของการเกิดบาดแผล
- จากการเกิดอุบัติเหตุ
- ของมีคม ถูกกระแทก จากความร้อนจัดหรือเย็นจัด
- สารเคมี รังสี
- จากการผ่าตัดทำให้เนื้อเยื่อฉีกขาดหรือถูกทำลาย เป็นต้น
การบาดเจ็บของร่างกายที่ถูกทำลายจะสามารถมองเห็นและตรวจได้ทางกายภาพ
ประกอบด้วย 4 ลักษณะคือ
- ความเจ็บปวด (Pain)
- เลือดออก (Bleeding)
- ลักษณะรูปร่างผิดปกติ (Deformity)
- การสูญเสียหน้าที่/การทำงานผิดปกติ (Dysfunction)
ชนิดของบาดแผล สามารถแบ่งออกตามลักษณะของบาดแผล ได้ดังนี้
- แบ่งตามลักษณะการทำลายของเนื้อเยื่อ
- แบ่งตามการสัมผัสของเชื้อ
- แบ่งตามนิติวิทยาศาสตร์
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงบริเวณผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บ
– เพศ : ถูกแรงกระทำเท่า ๆ กัน ผู้หญิงมีโอกาสเกิดรอยช้ำบริเวณผิวหนังได้ง่ายกว่า
-ผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีผิวหนังที่บางกว่าและมีไขมันใต้ผิวหนังมากกว่าผู้ชาย
– อายุ: ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก พบรอยช้ำของบริเวณผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บได้บ่อย
– รูปร่างและสภาวะสุขภาพ: คนอ้วน มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคเลือด
– ตำแหน่ง/บริเวณชนิดของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย : บริเวณรอบๆดวงตา (Black eyes)
จะเกิดรอยช้ำได้ง่าย เนื่องจากเป็นบริเวณที่เนื้อเยื่ออยู่กันอย่างหลวมและมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก
สนับสนุนโดย เครื่องช่วยฟังแบบชาร์จหรือใส่ถ่านดีกว่ากัน